วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Recording Diary 5 February 7, 2019 Time : 8.30 AM. - 12.30 PM.

Knowledge content received ::  หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย

ความสำคัญของศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
     - ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตวจสอบ คือการได้สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวของตัวเอง
     - ประสบการณ์ด้านวัสดุ - อุปกรณ์ คือการเรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ
     - ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส คือการที่ให้เด็กได้เผชิญกับความจริงที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆ 
                                              
จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

     การสอนเด็กที่ไม่ใช่แค่สอนวาดรูป แต่เป็นการปลูกฟังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อน และเพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
 - ฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 - ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถของเด็กแต่ละคน
 - พัฒนาทั้ง 4 ด้านของเด็ก รวมถึงบุคลิกภาพของเด็ก
 - ปลูกฝังต้านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
 - ฝึกการใช้เครื่องมือ การเก็บรักษา ทำความสะอาด
 - ฝึกการทำงานเป็นทีม
 - เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนาน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
 - นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน





บทบาทของครูศิลปะ
ครู คือบุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
        - เป็นผู้สร้างบรรยากาศ   ( ในการประดิษฐ์  คิดค้น และผลิตผลงาน)
        - เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน   (พูดคุย  ชักจูง เร้าความสนใจ  ให้กำลังใจ)
        -  เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน  ( ให้ความรัก ความอบอุ่น  เป็นกันเอง และคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ)
        - เป็นต้นแบบที่ดี  (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง  ไม่เผด็จการ ส่งเสริมการกล้าคิด กล้าตัดสินใจ)
        - เป็นผู้อำนวยความสะดวก   (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์  รูปแบบศิลปะหลากหลาย)
สอนด้วยใจรัก และเอาใจใส่
ยอมรับความสามารถเด็กแต่ละคน
เปิดโอกาสและให้อิสระเด็กในการสร้างผลงาน 
ไม่รีบร้อนแก้ไขงาน 
ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก หรือแก้ปัญหาแทนเด็ก แต่ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออก
กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้เด็กแสดงออกอย่างเต็มความสามารถ
มีการวางแผน และจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ล่วงหน้าพร้อมทำกิจกรรม


ข้อควรคำนึงถึงในการสอนศิลปะ

-  หลีกเลี่ยงการให้แบบ การวาดภาพตามรอยปะ หรือใช้สมุดภาพระบายสี เพราะทำให้เด็กสูญเสียความคิดสร้างสรรค์
- ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก ให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ   ใช้คำพูดทางบวก เช่น หนูทำได้...ลองทำดูสิ
- ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ  ให้เด็กพูดคุยอย่างสบายใจ และเข้าใจในผลงานของตนเอง
- ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และผู้ช่วยเหลือ
- ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก และมีวิธีการประเมินงานที่เหมาะสม
- มีส่วนในการช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของงานเด็ก
- มีส่วนช่วยขยายประสบการณ์ทางศิลปะชองเด็ก ไม่อยู่แต่ในห้องเรียน  ควรพาเด็กออกสำรวจ  สัมผัส  สังเกต  ทัศนศึกษา เยี่ยมชมงานศิลปะตามแหล่งต่างๆ

การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะ

- การสร้างข้อตกลง และระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
- การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
- การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
- การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด (ฟองน้ำ  ผ้าเช็ดมือ  ถังขยะ ถังน้ำ)
- การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
- การจัดเก็บผลงาน  / การจัดสถานที่แสดงผลงาน

ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

เลือกเรื่องที่จะสอน / กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน / เตรียมการก่อนสอน
          - เตรียมแผนการสอน  - เรื่อง  จุดประสงค์  เนื้อหา  ระยะเวลา  สื่อการสอน  จำนวนเด็ก  จำนวนกิจกรรม  สถานที่
          - เตรียมอุปกรณ์การสอน
ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริงทำการสอนจริงตามแผน / เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน เช่น การแบ่งกลุ่มเด็ก  การให้เด็กสวมผ้ากันเปื้อน  การปฏิบัติตามข้อตกลง / การปฏิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล  แนะนำ  ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล / การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาดการประเมินผลงานเด็ก

เทคนิควิธีการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

การสอนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเสรี  มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน
 - ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้   ทดลองด้วยตนเอง  ลองผิดลองถูก
 - เรียนรู้การวางแผนงานและแก้ไขปัญหา
 - ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
 - เน้นการเรียนปนเล่น
 - สนับสนุน/เน้นเรื่องคุณค่าความงาม  ความดี

วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย
วัสดุ คือสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป หาง่ายขายทั่วไป หรืออาจจะเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือสิ่งที่มีในท้องถิ่น 
💗 กระดาษ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างกว้างขวางมีหลายประเภท ดังนี้ 
 ➔ กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษชนิดเดียวกับนิตยสารแต่บางกว่า หมึกก็อาจจะเลอะมือเด็ก มักใช้ทำเป็นงานชิ้นใหญ่

          ➔ กระดาษวาดเขียน มีความหนาไม่เท่ากันที่เรียกว่าปอนด์ 60 80 100 ใช้ได้ดีกับงานวาด หรือระบายสีได้ดี
          ➔ กระดาษโปสเตอร์ มีชนิดหน้าเดียว สองหน้า หนาและบางมีหลากสี ทำงานสามมิติ เช่น งานประดิษฐ์ต่าง ๆ
          ➔ กระดาษมันปู เป็นกระดาษผิวเรียบมัน ด้านหลังเป็นสีขาว มีหลายสี เหมาะแก่งาน ฉีก ตัด ปะ พับ
          ➔ กระดาษนิตยสาร สามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้อย่างดี


💗 สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก มีหลายประเภท ดังนี้          
          ➔ สีเทียน คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้งทำเป็นแท่ง ควรเลือกที่ผสมขี้ผึ้งน้อย เพราะจะได้สีที่เข้ม
          ➔ สีชอล์กเทียน สีที่ผสมน้ำมัน หรือไขทำเป็นแ่ท่ง สีสดใส เนื้อนุ่ม เหมะสำหรับเด็กโต
         ➔ สีเทียนพลาสติก ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ
         ➔ สีเมจิก  บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลม และปลายตัด เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง
         ➔ ปากกาปลายสักหลาด ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
         ➔ ดินสอ เด็ก ๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป
         ➔ ดินสอสี ก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโต ๆ มากกว่าเด็กเล็ก ๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อย ๆ ยังมีราคาแพงมาก
         ➔ สีฝุ่น เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาว หรือแป้งเปียกด้วย
         ➔ สีโปสเตอร์ ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน
         ➔ สีน้ำ เป็นสีโปร่งแสง มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไปทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
         ➔ สีพลาสติก มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้างมีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก
         ➔ สีจากธรรมชาติ จะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดินเป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้


💗กาว  กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ  ไม่เหนียว  ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร เรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่


  💕 ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
  💕 ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
  💕 ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก


💗 อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ


Assessment :: 

     My self :: เข้าเรียนตรงเวลา ฟังอาจารย์บ้าง คุยกับเพื่อนบ้าง
     Friend :: ทุกคนตั้งใจฟังบ้าง อาจจะมีคุยกันในห้องบ้าง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
     Teacher :: อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น