ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ตัวประกอบของสติปัญญา เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผล การแก้ปัญหา
กิลฟอร์ด
อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3
มิติ
มิติที่
1 เนื้อหา มิติเกี่ยวกับ ข้อมูล หรือ
สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด สมองรับข้อมูลเข้าไปคิดพิจารณา 4
ลักษณะ
- ภาพ - สัญลักษณ์ - ภาษา - พฤติกรรม
มิติที่
2 วิธีการคิด มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน 5
ลักษณะ
- การรู้จัก การเข้าใจ
- การจำ
- การคิดแบบอเนกนัย (คิดได้หลายรูปแบบ หลากหลาย)
- การคิดแบบเอกนัย (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
- การประเมินค่า
มิติที่
3 ผลของการคิด มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง
จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2 มี 6
ลักษณะ
- หน่วย - จำพวก - ความสัมพันธ์
- ระบบ - การแปลงรูป - การประยุกต์
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วย ความคล่องแคล่วในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด ความริเริ่มในการคิด
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์
เป็น 5 ขั้น
- ขั้นการค้นพบความจริง
พยายามคิดหาสาเหตุ ว่าสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้น คืออะไร
- ขั้นการค้นพบปัญหา
เกิดความเข้าใจแล้วว่า ปัญหาคืออะไร
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
เมื่อรู้ปัญหาว่าคืออะไรจากขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 แล้วก็พยายามคิดแก้ปัญหา
หาทางออกโดยการตั้งสมมุติฐาน
- ขั้นการค้นพบคำตอบ
เป็นการค้นพบคำตอบจากการตั้งสมมุติฐานด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย
- ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ ค้นพบว่าสมมุติฐานที่ทดสอบไปในขั้นที่ 4 นั้นได้ผลเป็นอย่างไรสรุปว่าสมมุติฐานใดคือการแก้ปัญหา
หรือทางออกที่ดีที่สุด
ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ
เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน
สมองซีกซ้าย
ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา ทำงานส่วนจินตนาการ
และความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา (
ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ ) จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน
ได้แก่
- ความสามารถด้านภาษา
- ความสามารถด้านตรรกวิทยาแลคณิตศาสตร์
- ความสามารถด้านดนตรี
-
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
- ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
- ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
- ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
- ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
ทฤษฎีโอตา ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ
เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
วงจรของการขีดๆเขียนๆ เคลล็อก (Kellogg) ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย
และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน
ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก
4 ขั้นตอน
มีดังนี้ ขั้นขีดเขี่ย ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
พัฒนาการด้านร่างกาย
การขีดเขียน
- อายุ 3-4 ปี
เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
- อายุ 4-5 ปี
เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
- อายุ 5-6 ปี
เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ
- อายุ 3-4 ปี
พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
- อายุ 4-5 ปี พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
- อายุ 5-6 ปี
พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
การวาด
- อายุ 3-4 ปี
วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
- อายุ 4-5 ปี
วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
- อายุ 5-6 ปี
วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน มือ คอ ผม
จากนั้นอาจารย์ให้รวบรวมใบงานของสัปดาห์ที่แล้วมาจัดนิทรรศการร่วมกับเพื่อนในห้อง
ใบงานที่ 1 และ ใบงานที่ 2
ใบงานที่ 3 และ ใบงานที่ 4
ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 6
Assessment ::
My self :: เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดอธิบาย อาจจะเล่นโทรศัพท์บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น